Google

Thursday, September 24, 2009

Peaceful (Pacific) Settlement

การระงับข้อพิพาทโดยสันติ

การระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยปราศจากการใช้กำลัง การระงับข้อพิพาทโดยสันตินี้ เป็นเทคนิควิธีในเชิงปฏิบัติการที่จะช่วยให้ความขัดแย้งในเรื่องสิทธิและหน้าที่สำคัญ ๆ ของรัฐต่าง ๆ สามารถระงับลงได้ เทคนิควิธีที่จะนำมาใช้เพื่อการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติมี 2 ประเภท คือ (1) วิธีการทางกฎหมาย หมายถึง การใช้กฎหมายระหว่างประเทศมาสอบสวนหาข้อเท็จจริงของข้อพิพาทนั้น และ (2) วิธีการทางการเมือง หมายถึง การใช้กระบวนการทางการทูต วิธีการแก้ไขกรณีพิพาทโดยทางกฎหมาย ก็คือ วิธีอนุญาโตตุลาการ และวิธีให้ศาลวินิจฉัย ส่วนเทคนิควิธีทางการเมืองนั้น ก็คือ การเจรจาทางการทูต การช่วยเป็นสื่อกลาง การไกล่เกลี่ย การสืบสวน และการประนอม

ความสำคัญ เนื่องจากว่าปัจจุบันนี้สงครามมีผลทางการทำลายล้างมากยิ่งกว่าแต่ก่อนมาก และพร้อมกันนั้นมันก็จะสร้างความหายนะอย่างใหญ่หลวงแก่สังคมและเศรษฐกิจของรัฐ ดังนั้นจึงได้มีความพยายามที่จะหาหนทางอื่นเป็นพันธกรณีให้รัฐต่าง ๆ ยอมรับเอาไว้ใช้ระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศ ในการประชุมสันติภาพที่กรุงเฮกปี ค.ศ. 1899 และปี ค.ศ. 1907 ได้ก่อให้เกิดความพยายามในระดับพหุภาคีครั้งสำคัญ ที่จะให้มีการวางรูปแบบของกรรมวิธีแก้ไขข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติขึ้นมาเป็นครั้งแรก จากนั้นมาก็ได้มีความพยายามสร้างรูปแบบกรรมวิธีต่าง ๆ เพิ่มขึ้นมาในสนธิสัญญาต่าง ๆ เช่น ในกติกาสันนิบาตชาติ ในข้อบังคับศาลสถิตยุติธรรมระหว่างประเทศ ในข้อตกลงกรุงเจนีวาปี ค.ศ. 1928 ในกติกาสัญญาเคลลอกก์ - บริอังด์ (สนธิสัญญาประณามสงครามปี ค.ศ. 1928) และในกฎบัตรสหประชาชาติ พัฒนาการในด้านการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยสันตินี้ ได้มีการนำมาตรการอื่น ๆ เข้ามาเสริมด้วย คือ การลดกำลังรบ การจัดกิจกรรมองค์การระหว่างประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างประเทศ การแลกเปลี่ยนทางการศึกษาและวัฒนธรรมระหว่างประเทศ เป็นต้น หากไม่ใช้การระงับข้อพิพาทโดยสันติเป็นทางเลือกแล้ว ก็จะนำไปสู่สงครามจำกัด หรือดีไม่ดีอาจจะถึงขั้นวินาศย่อยยับเพราะสงครามเทอร์โมนิวเคลียร์ไปเลยก็ได้

No comments:

Post a Comment