Google

Thursday, September 24, 2009

Diplomatic Tool : Treaty Ratification

เครื่องมือทางการทูต : การให้สัตยาบัน

การที่รัฐดำเนินการให้คำยืนยัน และให้ความเห็นชอบอย่างเป็นทางการต่อบทบัญญัติของสนธิสัญญา ปกติแล้วการให้สัตยาบัน เป็นเรื่องของฝ่ายบริหารของรัฐที่ได้ลงนามในสนธิสัญญา จะเป็นผู้ดำเนินการโดยให้สอดคล้องกับกระบวนการที่ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญของฝ่ายตน โดยทั่ว ๆ ไปนั้นการให้สัตยาบันจะต้องผ่านการเห็นชอบของฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งอาจจะเป็นสภาเดียวหรือสองสภา ซึ่งก็สุดแล้วแต่ว่ารัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้อย่างไร ในบางประเทศฝ่ายนิติบัญญัติจะเข้ามามีส่วนในการให้สัตยาบันในช่วงหลังจากที่ได้กระทำสนธิสัญญากันเรียบร้อยไปแล้ว แต่ในบางประเทศ อย่างเช่น สหรัฐอเมริกา การให้สัตยาบันเป็นขั้นตอนสำคัญยิ่งในกระบวนการทำสนธิสัญญาเลยทีเดียว

ความสำคัญ ตามแนวปฏิบัติระหว่างประเทศนั้น สนธิสัญญาทั้งหลายจะมีผลบังคับใช้ก็ต่อเมื่อได้มีการแลกเปลี่ยนสัตยาบันสารต่อกัน ในกรณีที่เป็นสนธิสัญญาแบบทวิภาคี แต่ถ้าหากเป็นกรณีของสนธิสัญญาแบบพหุภาคี สนธิสัญญาจะมีผลบังคับใช้ก็ต่อเมื่อมีการขึ้นทะเบียนสนธิสัญญากับรัฐบาลของรัฐใดรัฐหนึ่ง หรือองค์การใดองค์การหนึ่งตามที่ได้กำหนดไว้ในสนธิสัญญานั้นแล้ว หากเป็นแบบกรณีหลังนี้ก็อาจจะมีข้อกำหนดไว้ด้วยว่า สนธิสัญญาจะมีผลบังคับต่อเมื่อมีการขึ้นทะเบียนสัตยาบันสารของรัฐนั้นรัฐนี้แล้ว หรือเมื่อได้รับสัตยาบันสารของรัฐต่าง ๆ จำนวนเท่านั้นเท่านี้แล้ว ยกตัวอย่างเช่น ในมาตรา 110 แห่งกฎบัตรสหประชาชาติ และมาตรา 11 แห่งสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ

No comments:

Post a Comment