Google

Thursday, September 24, 2009

Diplomacy, Summit

การทูตแบบการประชุมระดับสุดยอด

การทูตในระดับส่วนบุคคล โดยประมุขรัฐหรือประมุขรัฐบาล ซึ่งแตกต่างจากการทูตในระดับเอกอัครราชทูตหรือระดับอัครราชทูต การทูตแบบการประชุมระดับสุดยอดนี้ เกิดขึ้นในยุคที่มีการปกครองตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และหลังจากนั้นมาก็ได้มีการประชุมกันแบบนี้อย่างประปราย แต่ได้มาเริ่มเฟื่องฟูใหม่อีกในช่วงที่เกิดปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียต นอกจากนี้แล้ว ก็ได้มีการใช้ “การประชุมแบบสุดยอด” นี้ระหว่างผู้นำสหรัฐฯกับผู้นำชาติอื่น ๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์กับสาธารณรัฐประชาชนจีนและปัญหาในตะวันออกกลาง

ความสำคัญ การทูตแบบการประชุมระดับสุดยอดนี้ ในฐานะที่เป็นกลไกสำหรับใช้ปฎิบัติการในทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มีกระบวนการที่มีความละเอียดอ่อน ซับซ้อน และอาจจะสร้างความสำเร็จ หรือสร้างความล้มเหลวได้พอ ๆ กับกลไกทางการทูตแบบอื่น ๆ การทูตแบบการประชุมสุดยอดนี้ อาจใช้เพื่อทำการตกลงกันแบบกว้าง ๆ เท่านั้น ส่วนรายละเอียดข้อปลีกย่อยต่าง ๆ ก็ปล่อยให้เจ้าหน้าที่ระดับล่าง ๆ ลงมาเป็นผู้ดำเนินการกัน นอกจากนี้แล้วก็ยังใช้เทคนิควิธีนี้เพื่อปรับปรุงบรรยากาศความสัมพันธ์ระหว่างรัฐก็ได้ อย่างไรก็ดี ในบางกรณีหากผลีผลามรีบจัดการประชุมแบบนี้ขึ้นมา ก็อาจเกิดผลเสียตามมาก็ได้เหมือนกัน เพราะเมื่อประมุขรัฐเข้าร่วมเจรจากันแล้วนั้น ก็จะไม่มีสิทธิถ่วงเวลาให้เจ้าหน้าที่ระดับล่าง ๆ พิจารณาเรื่องนั้น ๆ ได้อีก ยิ่งไปกว่านั้นแล้ว คนที่เป็นประมุขรัฐนั้นที่เคยเป็นนักการทูตมีประสบการณ์มาก่อนจะหาได้น้อย การเจรจาระหว่างประมุขรัฐ หรือระหว่างประมุขรัฐบาลนี้ จึงอาจล้มเหลว เกิดความเครียด และมีอันตรายร้ายแรงตามมาได้ การทูตแบบการประชุมสุดยอดนี้จะมีปัญหาน้อย หากจัดเมื่อจะลงนามในข้อตกลงอย่างเป็นทางการ ภายหลังจากที่เจ้าหน้าที่ในระดับล่าง ๆ ได้ดำเนินการในส่วนต่าง ๆ ไว้ล่วงหน้าเรียบร้อยแล้ว

No comments:

Post a Comment