Google

Thursday, September 24, 2009

Diplomacy : Hegemony

การทูต : การครองความเป็นใหญ่

การที่รัฐใดรัฐหนึ่งแผ่อิทธิพลเข้าครอบงำหรือเข้าควบคุมเหนือรัฐอื่นหรือภูมิภาคอื่น นโยบายการครองความเป็นใหญ่นี้ อาจจะส่งผลให้เกิดสัมพันธภาพระหว่างลูกพี่ลูกน้อง หรือสัมพันธภาพระหว่างรัฐที่เป็นเครือข่ายกัน และก็อาจส่งผลให้เกิดการสร้างเขตอิทธิพลขึ้นมาได้ด้วย

ความสำคัญ ความแตกต่างทางด้านอำนาจ หากมีมาก ๆ แล้ว ก็อาจก่อให้เกิดสัมพันธภาพแบบการครองความเป็นใหญ่ขึ้นมาระหว่างรัฐที่เชื่อกันว่ามีเอกราชและมีความเท่าเทียมกันได้ การที่รัฐหนึ่งมีอำนาจเหลือล้น ซึ่งถึงแม้ว่าจะมีขึ้นมาด้วยเจตนาดีแค่ไหน ก็จะถือว่ามีศักยภาพที่จะคุกคามต่ออีกรัฐหนึ่งได้ ดังนั้น การที่รัฐมีเอกราชจะยอมทนอยู่กับการมีสัมพันธภาพแบบที่ว่านี้อยู่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดโดยที่จะไม่พยายามเปลี่ยนแปลงเห็นจะไม่มีแน่ ดังจะเห็นได้จากประเทศที่อยู่ในเครือข่ายของสหภาพโซเวียตในทวีปยุโรปตะวันออกในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หลายประเทศ อย่างเช่น โรมาเนีย และโปแลนด์ เป็นต้น ได้พยายามดิ้นรนเพื่อมีเอกราชพ้นจากการครอบงำของสหภาพโซเวียตมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ดี ในปี ค.ศ.1968 เมื่อเชโกสโลวะเกียพยายามสร้างระบบเสรีให้แก่ระบบคอมมิวนิสต์ของตนอยู่นั้น ก็ได้ถูกกองกำลังของกลุ่มประเทศในกติกาสัญญาวอร์ซอ โดยการชี้นำของสหภาพโซเวียตบุกเข้ามาทำการปราบปราม และก็เคยได้มีความพยายามในทำนองเดียวกันที่จะสถาปนาการครองความเป็นใหญ่ หรือคงการครองความเป็นใหญ่นี้ต่อไปเมื่อปี ค.ศ. 1979 คือ ตอนที่จีนโจมตีเวียดนาม และสหภาพโซเวียตบุกเข้าไปในอัฟกานิสถาน ส่วนเมื่อปี ค.ศ. 1983 สหรัฐอเมริกาเองก็ได้บุกเกรนาดาอีกเช่นกัน

No comments:

Post a Comment