Google

Thursday, September 24, 2009

Diplomacy, Parliamentary

การทูตแบบการประชุมรัฐสภา

การทูตแบบจัดการประชุมแบบหนึ่ง ที่เน้นให้หาข้อตกลงโดยอาศัยเสียงข้างมากของผู้เข้าร่วมประชุมในสถาบันระหว่างประเทศต่าง ๆ คำว่า “การทูตแบบการประชุมรัฐสภา” นี้ นายดีน รัสก์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯเป็นผู้ใช้เป็นคนแรก ได้เน้นให้มีการใช้กระบวนการทางการเมืองคล้ายๆ กันนี้ในสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ในองค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ และในรัฐสภาของชาติต่าง ๆ การทูตแบบการประชุมรัฐสภานี้ ได้วางหลักไว้ให้มีการประชุมกันระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ในระดับภูมิภาค และระหว่างกลุ่มผลประโยชน์พิเศษต่าง ๆ เหมือนอย่างที่ฝ่ายนิติบัญญัติประชุมกันในรัฐสภา โดยจะมีการพบปะกันอย่างไม่เป็นทางการระหว่างผู้แทนของรัฐต่าง ๆ มีการแบ่งสรรปันส่วนผลประโยชน์ระหว่างกัน และมีการอภิปรายถกแถลงกัน เป็นต้น

ความสำคัญ การทูตแบบการประชุมรัฐสภานี้ จะทำหน้าที่ดังนี้ คือ (1) ให้คำจำกัดความแก่ประเด็นต่าง ๆ (2) เรียกร้องความสนใจมาที่ประเด็นของปัญหานั้น (3) สร้างเอกภาพทางแนวความคิดให้เข้ารูปเข้ารอยเดียวกัน แต่การทูตแบบการประชุมรัฐสภานี้ จะยังไม่นำไปสู่การแก้ปัญหาในระดับนานาชาติได้โดยอัตโนมัติ ทั้งนี้เพราะผู้เข้าร่วมประชุมเป็นเพียงตัวแทนทางการทูตของรัฐเอกราชซึ่งได้รับมอบหมายมาให้ทำหน้าที่เป็นผู้รับอำนาจมา โดยที่ไม่มีอิสระในการตัดสินใจได้โดยลำพัง ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากว่า อำนาจตัดสินใจครั้งสุดท้ายยังอยู่กับฝ่ายนิติบัญญัติของรัฐนั้น ๆ แม้ว่าเสียงข้างมากในที่ประชุมจะออกมาอย่างไร รัฐต่าง ๆ ก็ยังทรงอำนาจที่จะรักษาผลประโยชน์ของตนในฐานะที่เป็นรัฐมีอำนาจอธิปไตยต่อไป แต่มติดังกล่าวก็อาจจะช่วยสร้างบรรยากาศที่จะเอื้ออำนวยให้การเจรจาต่าง ๆ เป็นไปได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ดี มติจากเสียงข้างมากที่ท่วมท้นนี้ แม้ว่าจะสามารถใช้เป็นกลยุทธ์ในการผลักดันได้ก็จริง แต่ก็อาจเป็นเหตุสร้างความเห็นที่ขัดแย้งและแตกความสามัคคี แทนที่จะเป็นการสร้างความปรองดองกัน

No comments:

Post a Comment