Google

Thursday, September 24, 2009

Diplomacy, Conference

การทูตแบบจัดการประชุม

การเจรจาทางการทูตแบบพหุภาคีเต็มรูปแบบ ที่ดำเนินการในที่ประชุมระหว่างประเทศ การทูตแบบจัดการประชุมนี้ ในทางประวัติศาสตร์ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสถาปนาสันติภาพหลังสงครามครั้งสำคัญ ๆ โดยย้อนประวัติศาสตร์กลับไปเมื่อตอนเริ่มต้นมีระบบรัฐแบบตะวันตกขึ้นมาแล้ว ก็ได้มีการใช้การทูตแบบนี้ ในการประชุมใหญ่ที่เมืองเวสต์ฟาเลีย ( ระหว่างปี ค.ศ. 1642 - 1648) ซึ่งส่งผลให้สงคราม 30 ปียุติลงได้ การทูตแบบจัดการประชุมมีการนำมาใช้บ่อยครั้งยิ่งขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 และได้จัดรูปแบบเป็นสถาบันและเป็นระบบใช้ได้ในระดับโลก เมื่อได้มีการจัดตั้งสันนิบาตชาติขึ้นมาเมื่อปี ค.ศ. 1919 ต่อมาเมื่อสหประชาชาติได้เข้าสืบทอดหน้าที่แทนสันนิบาตชาติแล้วนั้น ก็ได้ทำหน้าที่เป็นที่ประชุมทางการทูตในระดับโลกอยู่เป็นประจำ ส่วนเรื่องที่นำมาประชุมกันก็คือ ปัญหาระดับระหว่างประเทศในด้านการเมือง กฎหมาย สังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และเทคนิค ส่วนการทูตแบบจัดการประชุมที่จัดขึ้นเป็นประจำ โดยมีการจำกัดในเรื่องหัวข้อและจำกัดตามที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ก็เช่นกัน อย่างเช่น การประชุมที่จัดขึ้น โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ที่จัดโดยองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) หรือที่จัดโดยองค์การเอกภาพแอฟริกา (โอเอยู) ในทำนองเดียวกัน การทูตแบบจัดการประชุมเฉพาะกิจ ก็ได้มีการนำไปใช้โดยกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ในที่ประชุมเมืองบันดุง (ประเทศอินโดนีเซีย) ตั้งแต่เมื่อปี ค.ศ. 1955 เมื่อวิทยาการและเทคโนโลยีต่าง ๆ ได้เจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น ก็ได้มีการจัดประชุมหลากหลายทั้งที่เป็นแบบเฉพาะกิจ และที่เป็นการจัดในระดับสถาบัน และก็มีหลายครั้งที่จัดขึ้น โดยองค์การชำนัญพิเศษแห่งประชาชาติ ลักษณะที่เป็นทางการและที่เป็นแบบกึ่งรัฐสภาของการทูตแบบจัดการประชุมนี้ จะใช้สำหรับกรณีเลือกประธาน กรณีที่จะมีการยอมรับวิธีดำเนินการแบบมาตรฐาน กรณีจะจัดตั้งโครงสร้างของกรรมการที่จะมาทำงาน และกรณีที่จะเลือกระบบมาใช้ในการตัดสินใจ

ความสำคัญ การทูตแบบจัดการประชุมนี้ เป็นการทูตแบบเปิด ซึ่งมีลักษณะตรงกันข้ามกับการทูตแบบ “ลับ” คือ เป็นแบบที่ประธานาธิบดี วูดโรว์ วิลสัน แห่งสหรัฐอเมริกา เคยบอกไว้ว่า “ข้อตกลงแบบเปิดเผย ที่มีการลงนามกันอย่างเปิดเผย” ลักษณะพหุภาคีของการทูตแบบจัดการประชุมนี้ จะอำนวยประโยชน์ให้แต่ละฝ่ายสามารถร้องทุกข์ของฝ่ายตนได้ ให้สามารถรู้ถึงปัญหา สามารถแลกเปลี่ยนความเห็นระหว่างกัน และสามารถทำงานด้วยกันเพื่อห1าทางแก้ปัญหาร่วมกันได้ การทูตแบบจัดการประชุมนี้ ในฐานะที่เป็นกลไกสำหรับใช้ดำเนินการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เมื่อนำมาใช้แล้วก็มิได้มีหลักประกันว่าจะทำให้สามารถทำการตกลงกันได้เสมอไป ในบันทึกของทั้งสันนิบาตชาติและสหประชาชาติ มีเรื่องที่ “ตกลงกันไม่ได้แบบเปิดเผย ที่มีการลงนามกันอย่างเปิดเผย” นี้เต็มไปหมด อย่างไรก็ดี เทคนิควิธีของการทูตแบบจัดการประชุมนี้ อาจจะไปช่วยกระตุ้นให้เกิดการแก้ปัญหา เมื่อผลประโยชน์ของชาติไม่สามารถประนีประนอมกันได้ ก็จะใช้วิธีนี้ประชุมกันเพื่อถกแถลงและต่อรองกัน

No comments:

Post a Comment