การทูต
แนวปฏิบัติเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐโดยผ่านทางผู้แทนที่เป็นทางการ การทูตนี้อาจจะเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับกระบวนการของความสัมพันธ์ต่างประเทศทุกอย่างทั้งที่เป็นส่วนของการกำหนดนโยบายและส่วนของการดำเนินนโยบาย ในแง่ที่มีความหมายกว้าง ๆ นี้ การทูตและนโยบายต่างประเทศเป็นสิ่งเดียวกัน แต่ในแง่ที่มีความหมายแคบเข้ามาหรือในแง่ที่มีมาตั้งแต่ดั้งเดิมหรือตามประเพณีนั้น การทูตนี้จะเป็นเรื่องของวิธีการและกลไกต่าง ๆ ที่จะให้นโยบายต่างประเทศสามารถบรรลุเป้าหมายหรือจุดมุ่งหมายได้ ในแง่ที่มีความหมายแคบลงมาหน่อยนี้ การทูตจึงหมายถึงเทคนิคทางปฏิบัติการที่รัฐใดรัฐหนึ่งนำมาใช้เพื่อขยายผลประโยชน์ออกไปนอกเขตแดนหรือนอกเขตอำนาจศาลของตน เมื่อรัฐต่าง ๆ ต้องมีการเกี่ยวโยงและพึ่งพาอาศัยกันมากขึ้น จึงทำให้การประชุมระหว่างชาติ การประชุมในแบบพหุภาคี และการทูตแบบประชุมรัฐสภามีปริมาณเพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ อย่างไรก็ดี เนื่องจากรัฐต่าง ๆ มีการติดต่อสัมพันธ์กันบ่อยครั้งขึ้น และเรื่องที่ติดต่อกันนั้นก็มีหลายเรื่องด้วยกัน จึงทำให้กิจกรรมทางการทูตกลายเป็นเรื่องที่ทำกันในระดับทวิภาคีไป และกิจกรรมทางการทูตเหล่านี้ ก็ได้กระทำกันโดยผ่านทางช่องทางการทูตปกติ กล่าวคือ ผ่านทางกระทรวงการต่างประเทศ และผ่านทางผู้แทนทางการทูตที่ส่งไปประจำอยู่ตามประเทศต่าง ๆ แต่หากเป็นเรื่องที่วิกฤตมาก ๆ บางทีก็จะใช้วิธีเจรจาในระดับสูงสุด คือ ให้ประมุขรัฐบาลเข้าประชุมในการทูตระดับสุดยอด
ความสำคัญ การทูตที่นำมาใช้กันมีรูปแบบดังนี้ คือ การทูตแบบเปิดเผยหรือการทูตแบบลับ การทูตแบบทวิภาคีหรือการทูตแบบพหุภาคี การทูตแบบระดับรัฐมนตรีหรือการทูตแบบระดับประมุขรัฐบาล ซึ่งแต่ละอย่างจะมีการใช้แตกต่างกันไปในแต่ละรัฐ ในแต่ละสถานการณ์ ในแต่ละสภาวะแวดล้อมทางการเมือง และในแต่ละผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้อง การทูตทุกรูปแบบมีส่วนเกื้อกูลต่อระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศให้เป็นไปด้วยความราบรื่น และเป็นเทคนิควิธีทางการเมืองที่สามัญที่สุดสำหรับใช้แก้ไขข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติ แม้ว่าจะได้มีการนำเอาเทคโนโลยีมาสนับสนุนอย่างไร แต่ก็ยังถือว่าการทูตนี้เป็นศิลป์มากกว่าที่จะเป็นศาสตร์ และถือว่าการติดต่อระหว่างบุคคลเป็นปัจจัยสำคัญในความสัมพันธ์แห่งรัฐทั้งหลาย
English-Thai Dictionary of Diplomacy
พจนานุกรมศัพท์ทางการทูต อังกฤษ-ไทย : รวบรวมและเรียบเรียง โดย พลเรือตรี รศ.ทองใบ ธีรานันทางกูร
Thursday, September 24, 2009
Diplomacy, Conference
การทูตแบบจัดการประชุม
การเจรจาทางการทูตแบบพหุภาคีเต็มรูปแบบ ที่ดำเนินการในที่ประชุมระหว่างประเทศ การทูตแบบจัดการประชุมนี้ ในทางประวัติศาสตร์ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสถาปนาสันติภาพหลังสงครามครั้งสำคัญ ๆ โดยย้อนประวัติศาสตร์กลับไปเมื่อตอนเริ่มต้นมีระบบรัฐแบบตะวันตกขึ้นมาแล้ว ก็ได้มีการใช้การทูตแบบนี้ ในการประชุมใหญ่ที่เมืองเวสต์ฟาเลีย ( ระหว่างปี ค.ศ. 1642 - 1648) ซึ่งส่งผลให้สงคราม 30 ปียุติลงได้ การทูตแบบจัดการประชุมมีการนำมาใช้บ่อยครั้งยิ่งขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 และได้จัดรูปแบบเป็นสถาบันและเป็นระบบใช้ได้ในระดับโลก เมื่อได้มีการจัดตั้งสันนิบาตชาติขึ้นมาเมื่อปี ค.ศ. 1919 ต่อมาเมื่อสหประชาชาติได้เข้าสืบทอดหน้าที่แทนสันนิบาตชาติแล้วนั้น ก็ได้ทำหน้าที่เป็นที่ประชุมทางการทูตในระดับโลกอยู่เป็นประจำ ส่วนเรื่องที่นำมาประชุมกันก็คือ ปัญหาระดับระหว่างประเทศในด้านการเมือง กฎหมาย สังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และเทคนิค ส่วนการทูตแบบจัดการประชุมที่จัดขึ้นเป็นประจำ โดยมีการจำกัดในเรื่องหัวข้อและจำกัดตามที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ก็เช่นกัน อย่างเช่น การประชุมที่จัดขึ้น โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ที่จัดโดยองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) หรือที่จัดโดยองค์การเอกภาพแอฟริกา (โอเอยู) ในทำนองเดียวกัน การทูตแบบจัดการประชุมเฉพาะกิจ ก็ได้มีการนำไปใช้โดยกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ในที่ประชุมเมืองบันดุง (ประเทศอินโดนีเซีย) ตั้งแต่เมื่อปี ค.ศ. 1955 เมื่อวิทยาการและเทคโนโลยีต่าง ๆ ได้เจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น ก็ได้มีการจัดประชุมหลากหลายทั้งที่เป็นแบบเฉพาะกิจ และที่เป็นการจัดในระดับสถาบัน และก็มีหลายครั้งที่จัดขึ้น โดยองค์การชำนัญพิเศษแห่งประชาชาติ ลักษณะที่เป็นทางการและที่เป็นแบบกึ่งรัฐสภาของการทูตแบบจัดการประชุมนี้ จะใช้สำหรับกรณีเลือกประธาน กรณีที่จะมีการยอมรับวิธีดำเนินการแบบมาตรฐาน กรณีจะจัดตั้งโครงสร้างของกรรมการที่จะมาทำงาน และกรณีที่จะเลือกระบบมาใช้ในการตัดสินใจ
ความสำคัญ การทูตแบบจัดการประชุมนี้ เป็นการทูตแบบเปิด ซึ่งมีลักษณะตรงกันข้ามกับการทูตแบบ “ลับ” คือ เป็นแบบที่ประธานาธิบดี วูดโรว์ วิลสัน แห่งสหรัฐอเมริกา เคยบอกไว้ว่า “ข้อตกลงแบบเปิดเผย ที่มีการลงนามกันอย่างเปิดเผย” ลักษณะพหุภาคีของการทูตแบบจัดการประชุมนี้ จะอำนวยประโยชน์ให้แต่ละฝ่ายสามารถร้องทุกข์ของฝ่ายตนได้ ให้สามารถรู้ถึงปัญหา สามารถแลกเปลี่ยนความเห็นระหว่างกัน และสามารถทำงานด้วยกันเพื่อห1าทางแก้ปัญหาร่วมกันได้ การทูตแบบจัดการประชุมนี้ ในฐานะที่เป็นกลไกสำหรับใช้ดำเนินการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เมื่อนำมาใช้แล้วก็มิได้มีหลักประกันว่าจะทำให้สามารถทำการตกลงกันได้เสมอไป ในบันทึกของทั้งสันนิบาตชาติและสหประชาชาติ มีเรื่องที่ “ตกลงกันไม่ได้แบบเปิดเผย ที่มีการลงนามกันอย่างเปิดเผย” นี้เต็มไปหมด อย่างไรก็ดี เทคนิควิธีของการทูตแบบจัดการประชุมนี้ อาจจะไปช่วยกระตุ้นให้เกิดการแก้ปัญหา เมื่อผลประโยชน์ของชาติไม่สามารถประนีประนอมกันได้ ก็จะใช้วิธีนี้ประชุมกันเพื่อถกแถลงและต่อรองกัน
การเจรจาทางการทูตแบบพหุภาคีเต็มรูปแบบ ที่ดำเนินการในที่ประชุมระหว่างประเทศ การทูตแบบจัดการประชุมนี้ ในทางประวัติศาสตร์ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสถาปนาสันติภาพหลังสงครามครั้งสำคัญ ๆ โดยย้อนประวัติศาสตร์กลับไปเมื่อตอนเริ่มต้นมีระบบรัฐแบบตะวันตกขึ้นมาแล้ว ก็ได้มีการใช้การทูตแบบนี้ ในการประชุมใหญ่ที่เมืองเวสต์ฟาเลีย ( ระหว่างปี ค.ศ. 1642 - 1648) ซึ่งส่งผลให้สงคราม 30 ปียุติลงได้ การทูตแบบจัดการประชุมมีการนำมาใช้บ่อยครั้งยิ่งขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 และได้จัดรูปแบบเป็นสถาบันและเป็นระบบใช้ได้ในระดับโลก เมื่อได้มีการจัดตั้งสันนิบาตชาติขึ้นมาเมื่อปี ค.ศ. 1919 ต่อมาเมื่อสหประชาชาติได้เข้าสืบทอดหน้าที่แทนสันนิบาตชาติแล้วนั้น ก็ได้ทำหน้าที่เป็นที่ประชุมทางการทูตในระดับโลกอยู่เป็นประจำ ส่วนเรื่องที่นำมาประชุมกันก็คือ ปัญหาระดับระหว่างประเทศในด้านการเมือง กฎหมาย สังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และเทคนิค ส่วนการทูตแบบจัดการประชุมที่จัดขึ้นเป็นประจำ โดยมีการจำกัดในเรื่องหัวข้อและจำกัดตามที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ก็เช่นกัน อย่างเช่น การประชุมที่จัดขึ้น โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ที่จัดโดยองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) หรือที่จัดโดยองค์การเอกภาพแอฟริกา (โอเอยู) ในทำนองเดียวกัน การทูตแบบจัดการประชุมเฉพาะกิจ ก็ได้มีการนำไปใช้โดยกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ในที่ประชุมเมืองบันดุง (ประเทศอินโดนีเซีย) ตั้งแต่เมื่อปี ค.ศ. 1955 เมื่อวิทยาการและเทคโนโลยีต่าง ๆ ได้เจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น ก็ได้มีการจัดประชุมหลากหลายทั้งที่เป็นแบบเฉพาะกิจ และที่เป็นการจัดในระดับสถาบัน และก็มีหลายครั้งที่จัดขึ้น โดยองค์การชำนัญพิเศษแห่งประชาชาติ ลักษณะที่เป็นทางการและที่เป็นแบบกึ่งรัฐสภาของการทูตแบบจัดการประชุมนี้ จะใช้สำหรับกรณีเลือกประธาน กรณีที่จะมีการยอมรับวิธีดำเนินการแบบมาตรฐาน กรณีจะจัดตั้งโครงสร้างของกรรมการที่จะมาทำงาน และกรณีที่จะเลือกระบบมาใช้ในการตัดสินใจ
ความสำคัญ การทูตแบบจัดการประชุมนี้ เป็นการทูตแบบเปิด ซึ่งมีลักษณะตรงกันข้ามกับการทูตแบบ “ลับ” คือ เป็นแบบที่ประธานาธิบดี วูดโรว์ วิลสัน แห่งสหรัฐอเมริกา เคยบอกไว้ว่า “ข้อตกลงแบบเปิดเผย ที่มีการลงนามกันอย่างเปิดเผย” ลักษณะพหุภาคีของการทูตแบบจัดการประชุมนี้ จะอำนวยประโยชน์ให้แต่ละฝ่ายสามารถร้องทุกข์ของฝ่ายตนได้ ให้สามารถรู้ถึงปัญหา สามารถแลกเปลี่ยนความเห็นระหว่างกัน และสามารถทำงานด้วยกันเพื่อห1าทางแก้ปัญหาร่วมกันได้ การทูตแบบจัดการประชุมนี้ ในฐานะที่เป็นกลไกสำหรับใช้ดำเนินการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เมื่อนำมาใช้แล้วก็มิได้มีหลักประกันว่าจะทำให้สามารถทำการตกลงกันได้เสมอไป ในบันทึกของทั้งสันนิบาตชาติและสหประชาชาติ มีเรื่องที่ “ตกลงกันไม่ได้แบบเปิดเผย ที่มีการลงนามกันอย่างเปิดเผย” นี้เต็มไปหมด อย่างไรก็ดี เทคนิควิธีของการทูตแบบจัดการประชุมนี้ อาจจะไปช่วยกระตุ้นให้เกิดการแก้ปัญหา เมื่อผลประโยชน์ของชาติไม่สามารถประนีประนอมกันได้ ก็จะใช้วิธีนี้ประชุมกันเพื่อถกแถลงและต่อรองกัน
Diplomacy : Conversations
การทูต : การพูดจาหยั่งเชิง
การแลกเปลี่ยนทรรศนะทางการทูตระหว่างสองรัฐบาล การพูดจาหยั่งเชิงกันนี้อาจจะดำเนินการเพื่อหาข่าวสารอย่างเดียว หรืออาจจะนำไปสู่การเจรจาลงลึกในรายละเอียดมากยิ่งขึ้นด้วยก็ได้ การพูดจาหยั่งเชิงเป็นกิจกรรมทางการทูตในระดับปกติ ที่ดำเนินการโดยเอกอัครราชทูต หรือเจ้าหน้าที่ประจำสถานทูตก็ได้ แต่ก็อาจจะมีการพูดจาหยั่งเชิงกันแบบนี้ โดยใช้ผู้แทนทางการทูตที่ได้รับการแต่งตั้งมาเป็นกรณีพิเศษก็ได้
ความสำคัญ การพูดจาหยั่งเชิงกันนี้ เป็นการพูดจากรุยทางกันเอาไว้ก่อน โดยที่จะยังไม่มีการตกลงเป็นการผูกมัดใด ๆ เมื่อได้มีการติดต่อพบปะพูดคุยกันอย่างต่อเนื่องระหว่างสองฝ่ายแล้ว ก็จะช่วยให้นักการทูตสามารถตัดสินใจได้ว่า เมื่อใดควรจะได้ริเริ่มนโยบายเรื่องนั้นเรื่องนี้ การพูดจาหยั่งเชิงนี้ ซึ่งบางทีเรียกว่า “การทูตเงียบ” จะดำเนินการอย่างต่อเนื่องทั้งในระดับทวิภาคีและในระดับพหุภาคี ในสำนักงานใหญ่ของสหประชาชาติ ในเมืองหลวงของชาติต่าง ๆ และในการประชุมระดับนานาชาติ ก่อนจะมีการตกลงระหว่างประเทศที่สำคัญ ๆ ในทุกครั้งก็จะมีการพูดจาหยั่งเชิงไม่เป็นทางการเช่นนี้ เป็นการเริ่มต้นของกระบวนการพัฒนาสมานฉันท์ระหว่างทั้งสองฝ่ายเสียก่อน
การแลกเปลี่ยนทรรศนะทางการทูตระหว่างสองรัฐบาล การพูดจาหยั่งเชิงกันนี้อาจจะดำเนินการเพื่อหาข่าวสารอย่างเดียว หรืออาจจะนำไปสู่การเจรจาลงลึกในรายละเอียดมากยิ่งขึ้นด้วยก็ได้ การพูดจาหยั่งเชิงเป็นกิจกรรมทางการทูตในระดับปกติ ที่ดำเนินการโดยเอกอัครราชทูต หรือเจ้าหน้าที่ประจำสถานทูตก็ได้ แต่ก็อาจจะมีการพูดจาหยั่งเชิงกันแบบนี้ โดยใช้ผู้แทนทางการทูตที่ได้รับการแต่งตั้งมาเป็นกรณีพิเศษก็ได้
ความสำคัญ การพูดจาหยั่งเชิงกันนี้ เป็นการพูดจากรุยทางกันเอาไว้ก่อน โดยที่จะยังไม่มีการตกลงเป็นการผูกมัดใด ๆ เมื่อได้มีการติดต่อพบปะพูดคุยกันอย่างต่อเนื่องระหว่างสองฝ่ายแล้ว ก็จะช่วยให้นักการทูตสามารถตัดสินใจได้ว่า เมื่อใดควรจะได้ริเริ่มนโยบายเรื่องนั้นเรื่องนี้ การพูดจาหยั่งเชิงนี้ ซึ่งบางทีเรียกว่า “การทูตเงียบ” จะดำเนินการอย่างต่อเนื่องทั้งในระดับทวิภาคีและในระดับพหุภาคี ในสำนักงานใหญ่ของสหประชาชาติ ในเมืองหลวงของชาติต่าง ๆ และในการประชุมระดับนานาชาติ ก่อนจะมีการตกลงระหว่างประเทศที่สำคัญ ๆ ในทุกครั้งก็จะมีการพูดจาหยั่งเชิงไม่เป็นทางการเช่นนี้ เป็นการเริ่มต้นของกระบวนการพัฒนาสมานฉันท์ระหว่างทั้งสองฝ่ายเสียก่อน
Diplomacy : Fait Accompli
การทูต : เรื่องที่ยุติแล้ว
กระทำของรัฐหนึ่งหรือหลายรัฐ ซึ่งก่อให้เกิดสถานการณ์ใหม่ต่อรัฐ หรือกลุ่มรัฐอื่น หลังจากเกิด “เรื่องที่ยุติแล้ว” นี้ อีกฝ่ายหนึ่งก็จะไม่มีอำนาจในการตัดสินใจเหมือนเดิมอีกแล้ว แต่จะมีทางเลือกลดลง เป็นทำอะไรไม่ได้อีก หรือไม่ก็ทำการตอบโต้ต่อสถานการณ์ที่ได้เปลี่ยนแปลงแล้วนั้น
ความสำคัญ ในทางการทูตนั้น “เรื่องที่ยุติแล้ว” นี้เป็นการกระทำฝ่ายเดียว เป็นการโต้แย้งต่อการเจรจา และมักเป็นผลสืบเนื่องมาจากการชะงักงันทางการทูต หรือบางทีก็อาจจะเป็นการริเริ่มอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่จะนำไปสู่ความได้เปรียบแก่ฝ่ายตน และเป็นการกระทำที่หวังผลไว้ว่า อีกฝ่ายหนึ่งจะยอมรับการริเริ่มหรือนโยบายนี้ ตัวอย่างเช่น กรณีที่อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เริ่มสร้างกำลังทหารให้แก่อาณาจักรไรน์แลนด์(ปี ค.ศ 1936) เป็นการละเมิดสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ส่วนอีกตัวอย่างหนึ่ง ก็คือ กรณีที่มีการสร้างกำแพงกรุงเบอร์ลินขึ้นมา ก็ทำให้ฝ่ายพันธมิตรตะวันตกต้องยอมรับว่าเป็น “เรื่องที่ยุติแล้ว” อีกเหมือนกัน การตัดสินใจที่จะกระทำตามแบบอย่างที่ว่ามานี้ เป็นเรื่องเสี่ยงมากเหมือนกัน เนื่องจากว่าอีกฝ่ายหนึ่งยังมีอิสระที่จะแสดงปฏิกิริยาออกมาในฝ่ายของตนได้อยู่
กระทำของรัฐหนึ่งหรือหลายรัฐ ซึ่งก่อให้เกิดสถานการณ์ใหม่ต่อรัฐ หรือกลุ่มรัฐอื่น หลังจากเกิด “เรื่องที่ยุติแล้ว” นี้ อีกฝ่ายหนึ่งก็จะไม่มีอำนาจในการตัดสินใจเหมือนเดิมอีกแล้ว แต่จะมีทางเลือกลดลง เป็นทำอะไรไม่ได้อีก หรือไม่ก็ทำการตอบโต้ต่อสถานการณ์ที่ได้เปลี่ยนแปลงแล้วนั้น
ความสำคัญ ในทางการทูตนั้น “เรื่องที่ยุติแล้ว” นี้เป็นการกระทำฝ่ายเดียว เป็นการโต้แย้งต่อการเจรจา และมักเป็นผลสืบเนื่องมาจากการชะงักงันทางการทูต หรือบางทีก็อาจจะเป็นการริเริ่มอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่จะนำไปสู่ความได้เปรียบแก่ฝ่ายตน และเป็นการกระทำที่หวังผลไว้ว่า อีกฝ่ายหนึ่งจะยอมรับการริเริ่มหรือนโยบายนี้ ตัวอย่างเช่น กรณีที่อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เริ่มสร้างกำลังทหารให้แก่อาณาจักรไรน์แลนด์(ปี ค.ศ 1936) เป็นการละเมิดสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ส่วนอีกตัวอย่างหนึ่ง ก็คือ กรณีที่มีการสร้างกำแพงกรุงเบอร์ลินขึ้นมา ก็ทำให้ฝ่ายพันธมิตรตะวันตกต้องยอมรับว่าเป็น “เรื่องที่ยุติแล้ว” อีกเหมือนกัน การตัดสินใจที่จะกระทำตามแบบอย่างที่ว่ามานี้ เป็นเรื่องเสี่ยงมากเหมือนกัน เนื่องจากว่าอีกฝ่ายหนึ่งยังมีอิสระที่จะแสดงปฏิกิริยาออกมาในฝ่ายของตนได้อยู่
Diplomacy : Hegemony
การทูต : การครองความเป็นใหญ่
การที่รัฐใดรัฐหนึ่งแผ่อิทธิพลเข้าครอบงำหรือเข้าควบคุมเหนือรัฐอื่นหรือภูมิภาคอื่น นโยบายการครองความเป็นใหญ่นี้ อาจจะส่งผลให้เกิดสัมพันธภาพระหว่างลูกพี่ลูกน้อง หรือสัมพันธภาพระหว่างรัฐที่เป็นเครือข่ายกัน และก็อาจส่งผลให้เกิดการสร้างเขตอิทธิพลขึ้นมาได้ด้วย
ความสำคัญ ความแตกต่างทางด้านอำนาจ หากมีมาก ๆ แล้ว ก็อาจก่อให้เกิดสัมพันธภาพแบบการครองความเป็นใหญ่ขึ้นมาระหว่างรัฐที่เชื่อกันว่ามีเอกราชและมีความเท่าเทียมกันได้ การที่รัฐหนึ่งมีอำนาจเหลือล้น ซึ่งถึงแม้ว่าจะมีขึ้นมาด้วยเจตนาดีแค่ไหน ก็จะถือว่ามีศักยภาพที่จะคุกคามต่ออีกรัฐหนึ่งได้ ดังนั้น การที่รัฐมีเอกราชจะยอมทนอยู่กับการมีสัมพันธภาพแบบที่ว่านี้อยู่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดโดยที่จะไม่พยายามเปลี่ยนแปลงเห็นจะไม่มีแน่ ดังจะเห็นได้จากประเทศที่อยู่ในเครือข่ายของสหภาพโซเวียตในทวีปยุโรปตะวันออกในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หลายประเทศ อย่างเช่น โรมาเนีย และโปแลนด์ เป็นต้น ได้พยายามดิ้นรนเพื่อมีเอกราชพ้นจากการครอบงำของสหภาพโซเวียตมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ดี ในปี ค.ศ.1968 เมื่อเชโกสโลวะเกียพยายามสร้างระบบเสรีให้แก่ระบบคอมมิวนิสต์ของตนอยู่นั้น ก็ได้ถูกกองกำลังของกลุ่มประเทศในกติกาสัญญาวอร์ซอ โดยการชี้นำของสหภาพโซเวียตบุกเข้ามาทำการปราบปราม และก็เคยได้มีความพยายามในทำนองเดียวกันที่จะสถาปนาการครองความเป็นใหญ่ หรือคงการครองความเป็นใหญ่นี้ต่อไปเมื่อปี ค.ศ. 1979 คือ ตอนที่จีนโจมตีเวียดนาม และสหภาพโซเวียตบุกเข้าไปในอัฟกานิสถาน ส่วนเมื่อปี ค.ศ. 1983 สหรัฐอเมริกาเองก็ได้บุกเกรนาดาอีกเช่นกัน
การที่รัฐใดรัฐหนึ่งแผ่อิทธิพลเข้าครอบงำหรือเข้าควบคุมเหนือรัฐอื่นหรือภูมิภาคอื่น นโยบายการครองความเป็นใหญ่นี้ อาจจะส่งผลให้เกิดสัมพันธภาพระหว่างลูกพี่ลูกน้อง หรือสัมพันธภาพระหว่างรัฐที่เป็นเครือข่ายกัน และก็อาจส่งผลให้เกิดการสร้างเขตอิทธิพลขึ้นมาได้ด้วย
ความสำคัญ ความแตกต่างทางด้านอำนาจ หากมีมาก ๆ แล้ว ก็อาจก่อให้เกิดสัมพันธภาพแบบการครองความเป็นใหญ่ขึ้นมาระหว่างรัฐที่เชื่อกันว่ามีเอกราชและมีความเท่าเทียมกันได้ การที่รัฐหนึ่งมีอำนาจเหลือล้น ซึ่งถึงแม้ว่าจะมีขึ้นมาด้วยเจตนาดีแค่ไหน ก็จะถือว่ามีศักยภาพที่จะคุกคามต่ออีกรัฐหนึ่งได้ ดังนั้น การที่รัฐมีเอกราชจะยอมทนอยู่กับการมีสัมพันธภาพแบบที่ว่านี้อยู่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดโดยที่จะไม่พยายามเปลี่ยนแปลงเห็นจะไม่มีแน่ ดังจะเห็นได้จากประเทศที่อยู่ในเครือข่ายของสหภาพโซเวียตในทวีปยุโรปตะวันออกในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หลายประเทศ อย่างเช่น โรมาเนีย และโปแลนด์ เป็นต้น ได้พยายามดิ้นรนเพื่อมีเอกราชพ้นจากการครอบงำของสหภาพโซเวียตมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ดี ในปี ค.ศ.1968 เมื่อเชโกสโลวะเกียพยายามสร้างระบบเสรีให้แก่ระบบคอมมิวนิสต์ของตนอยู่นั้น ก็ได้ถูกกองกำลังของกลุ่มประเทศในกติกาสัญญาวอร์ซอ โดยการชี้นำของสหภาพโซเวียตบุกเข้ามาทำการปราบปราม และก็เคยได้มีความพยายามในทำนองเดียวกันที่จะสถาปนาการครองความเป็นใหญ่ หรือคงการครองความเป็นใหญ่นี้ต่อไปเมื่อปี ค.ศ. 1979 คือ ตอนที่จีนโจมตีเวียดนาม และสหภาพโซเวียตบุกเข้าไปในอัฟกานิสถาน ส่วนเมื่อปี ค.ศ. 1983 สหรัฐอเมริกาเองก็ได้บุกเกรนาดาอีกเช่นกัน
Diplomacy,Machiavellian
การทูตแบบแมเคียเวลลี
การดำเนินการเพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายของชาติด้วยการใช้ยุทธวิธีฉ้อฉล โกหก หลอกลวงต่าง ๆ โดยมีแรงกระตุ้นจากการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนแต่ถ่ายเดียว ศัพท์ว่า “แมเคียเวลลี” นี้มาจากชื่อของ นิคโคโล แมเคียเวลลี (ค.ศ. 1469-1529) นักการทูตและนักปราชญ์ชาวเมืองฟลอเรนไทน์ประเทศอิตาลี ในหนังสืออันเลื่องชื่อของเขาชื่อ เดอะปรินซ์ แมเคียเวลลีได้พรรณนาและได้ประกาศถึงยุทธวิธีฉ้อฉลต่าง ๆ ที่ควรนำมาใช้ให้ได้มาและเพื่อกุมเอาไว้ซึ่งอำนาจทางการเมือง
ความสำคัญ เมื่อการดำเนินการทางการทูตไม่มีมาตรฐานที่แน่นอนเสียแล้ว ก็ย่อมจะไม่มีข้อแตกต่างระหว่างความเฉลียวฉลาดกับความฉ้อฉลตามแบบที่แมเคียเวลลีสอนไว้ ทุกอย่างขึ้นอยู่กับว่า “ใครดีใครได้” การทูตจึงมีลักษณะอาศัยช่วงจังหวะและสภาวะแวดล้อมระหว่างประเทศเพื่อชิงความได้เปรียบกัน ยิ่งเสียกว่าจะได้อิงอาศัยคุณสมบัติการเป็นนักเจรจา หรืออิงอาศัยคุณลักษณะพิเศษของประเทศของนักการทูตผู้นั้น ในประวัติศาสตร์โลกช่วงเวลานี้ คุณสมบัติของนักการทูตจึงไม่ผิดอะไรกับคุณสมบัติของนักวิทยาศาสตร์ นักเทคนิค และนักเศรษฐศาสตร์ มีหลายรัฐได้ปฏิบัติการในทางลับ เพื่อส่งเสริมให้มีการบ่อนทำลาย ให้มีการปฏิวัติ และให้มีการรัฐประหาร ซึ่งก็เป็นการกระทำที่มิได้ผิดแผกแตกต่างไปจากกโลบายฉ้อฉลในแบบที่แมเคียเวลลีว่าไว้เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 16 มากนัก
การดำเนินการเพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายของชาติด้วยการใช้ยุทธวิธีฉ้อฉล โกหก หลอกลวงต่าง ๆ โดยมีแรงกระตุ้นจากการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนแต่ถ่ายเดียว ศัพท์ว่า “แมเคียเวลลี” นี้มาจากชื่อของ นิคโคโล แมเคียเวลลี (ค.ศ. 1469-1529) นักการทูตและนักปราชญ์ชาวเมืองฟลอเรนไทน์ประเทศอิตาลี ในหนังสืออันเลื่องชื่อของเขาชื่อ เดอะปรินซ์ แมเคียเวลลีได้พรรณนาและได้ประกาศถึงยุทธวิธีฉ้อฉลต่าง ๆ ที่ควรนำมาใช้ให้ได้มาและเพื่อกุมเอาไว้ซึ่งอำนาจทางการเมือง
ความสำคัญ เมื่อการดำเนินการทางการทูตไม่มีมาตรฐานที่แน่นอนเสียแล้ว ก็ย่อมจะไม่มีข้อแตกต่างระหว่างความเฉลียวฉลาดกับความฉ้อฉลตามแบบที่แมเคียเวลลีสอนไว้ ทุกอย่างขึ้นอยู่กับว่า “ใครดีใครได้” การทูตจึงมีลักษณะอาศัยช่วงจังหวะและสภาวะแวดล้อมระหว่างประเทศเพื่อชิงความได้เปรียบกัน ยิ่งเสียกว่าจะได้อิงอาศัยคุณสมบัติการเป็นนักเจรจา หรืออิงอาศัยคุณลักษณะพิเศษของประเทศของนักการทูตผู้นั้น ในประวัติศาสตร์โลกช่วงเวลานี้ คุณสมบัติของนักการทูตจึงไม่ผิดอะไรกับคุณสมบัติของนักวิทยาศาสตร์ นักเทคนิค และนักเศรษฐศาสตร์ มีหลายรัฐได้ปฏิบัติการในทางลับ เพื่อส่งเสริมให้มีการบ่อนทำลาย ให้มีการปฏิวัติ และให้มีการรัฐประหาร ซึ่งก็เป็นการกระทำที่มิได้ผิดแผกแตกต่างไปจากกโลบายฉ้อฉลในแบบที่แมเคียเวลลีว่าไว้เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 16 มากนัก
Diplomacy, Parliamentary
การทูตแบบการประชุมรัฐสภา
การทูตแบบจัดการประชุมแบบหนึ่ง ที่เน้นให้หาข้อตกลงโดยอาศัยเสียงข้างมากของผู้เข้าร่วมประชุมในสถาบันระหว่างประเทศต่าง ๆ คำว่า “การทูตแบบการประชุมรัฐสภา” นี้ นายดีน รัสก์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯเป็นผู้ใช้เป็นคนแรก ได้เน้นให้มีการใช้กระบวนการทางการเมืองคล้ายๆ กันนี้ในสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ในองค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ และในรัฐสภาของชาติต่าง ๆ การทูตแบบการประชุมรัฐสภานี้ ได้วางหลักไว้ให้มีการประชุมกันระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ในระดับภูมิภาค และระหว่างกลุ่มผลประโยชน์พิเศษต่าง ๆ เหมือนอย่างที่ฝ่ายนิติบัญญัติประชุมกันในรัฐสภา โดยจะมีการพบปะกันอย่างไม่เป็นทางการระหว่างผู้แทนของรัฐต่าง ๆ มีการแบ่งสรรปันส่วนผลประโยชน์ระหว่างกัน และมีการอภิปรายถกแถลงกัน เป็นต้น
ความสำคัญ การทูตแบบการประชุมรัฐสภานี้ จะทำหน้าที่ดังนี้ คือ (1) ให้คำจำกัดความแก่ประเด็นต่าง ๆ (2) เรียกร้องความสนใจมาที่ประเด็นของปัญหานั้น (3) สร้างเอกภาพทางแนวความคิดให้เข้ารูปเข้ารอยเดียวกัน แต่การทูตแบบการประชุมรัฐสภานี้ จะยังไม่นำไปสู่การแก้ปัญหาในระดับนานาชาติได้โดยอัตโนมัติ ทั้งนี้เพราะผู้เข้าร่วมประชุมเป็นเพียงตัวแทนทางการทูตของรัฐเอกราชซึ่งได้รับมอบหมายมาให้ทำหน้าที่เป็นผู้รับอำนาจมา โดยที่ไม่มีอิสระในการตัดสินใจได้โดยลำพัง ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากว่า อำนาจตัดสินใจครั้งสุดท้ายยังอยู่กับฝ่ายนิติบัญญัติของรัฐนั้น ๆ แม้ว่าเสียงข้างมากในที่ประชุมจะออกมาอย่างไร รัฐต่าง ๆ ก็ยังทรงอำนาจที่จะรักษาผลประโยชน์ของตนในฐานะที่เป็นรัฐมีอำนาจอธิปไตยต่อไป แต่มติดังกล่าวก็อาจจะช่วยสร้างบรรยากาศที่จะเอื้ออำนวยให้การเจรจาต่าง ๆ เป็นไปได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ดี มติจากเสียงข้างมากที่ท่วมท้นนี้ แม้ว่าจะสามารถใช้เป็นกลยุทธ์ในการผลักดันได้ก็จริง แต่ก็อาจเป็นเหตุสร้างความเห็นที่ขัดแย้งและแตกความสามัคคี แทนที่จะเป็นการสร้างความปรองดองกัน
การทูตแบบจัดการประชุมแบบหนึ่ง ที่เน้นให้หาข้อตกลงโดยอาศัยเสียงข้างมากของผู้เข้าร่วมประชุมในสถาบันระหว่างประเทศต่าง ๆ คำว่า “การทูตแบบการประชุมรัฐสภา” นี้ นายดีน รัสก์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯเป็นผู้ใช้เป็นคนแรก ได้เน้นให้มีการใช้กระบวนการทางการเมืองคล้ายๆ กันนี้ในสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ในองค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ และในรัฐสภาของชาติต่าง ๆ การทูตแบบการประชุมรัฐสภานี้ ได้วางหลักไว้ให้มีการประชุมกันระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ในระดับภูมิภาค และระหว่างกลุ่มผลประโยชน์พิเศษต่าง ๆ เหมือนอย่างที่ฝ่ายนิติบัญญัติประชุมกันในรัฐสภา โดยจะมีการพบปะกันอย่างไม่เป็นทางการระหว่างผู้แทนของรัฐต่าง ๆ มีการแบ่งสรรปันส่วนผลประโยชน์ระหว่างกัน และมีการอภิปรายถกแถลงกัน เป็นต้น
ความสำคัญ การทูตแบบการประชุมรัฐสภานี้ จะทำหน้าที่ดังนี้ คือ (1) ให้คำจำกัดความแก่ประเด็นต่าง ๆ (2) เรียกร้องความสนใจมาที่ประเด็นของปัญหานั้น (3) สร้างเอกภาพทางแนวความคิดให้เข้ารูปเข้ารอยเดียวกัน แต่การทูตแบบการประชุมรัฐสภานี้ จะยังไม่นำไปสู่การแก้ปัญหาในระดับนานาชาติได้โดยอัตโนมัติ ทั้งนี้เพราะผู้เข้าร่วมประชุมเป็นเพียงตัวแทนทางการทูตของรัฐเอกราชซึ่งได้รับมอบหมายมาให้ทำหน้าที่เป็นผู้รับอำนาจมา โดยที่ไม่มีอิสระในการตัดสินใจได้โดยลำพัง ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากว่า อำนาจตัดสินใจครั้งสุดท้ายยังอยู่กับฝ่ายนิติบัญญัติของรัฐนั้น ๆ แม้ว่าเสียงข้างมากในที่ประชุมจะออกมาอย่างไร รัฐต่าง ๆ ก็ยังทรงอำนาจที่จะรักษาผลประโยชน์ของตนในฐานะที่เป็นรัฐมีอำนาจอธิปไตยต่อไป แต่มติดังกล่าวก็อาจจะช่วยสร้างบรรยากาศที่จะเอื้ออำนวยให้การเจรจาต่าง ๆ เป็นไปได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ดี มติจากเสียงข้างมากที่ท่วมท้นนี้ แม้ว่าจะสามารถใช้เป็นกลยุทธ์ในการผลักดันได้ก็จริง แต่ก็อาจเป็นเหตุสร้างความเห็นที่ขัดแย้งและแตกความสามัคคี แทนที่จะเป็นการสร้างความปรองดองกัน
Subscribe to:
Posts (Atom)